THEWAYNEWS > Travel > In bound > ท่องเที่ยวโดยชุมชน @ บ้านไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

           ท่องเที่ยวโดยชุมชน @ บ้านไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

TRB_2210-S

      เรื่อง/ภาพ สุเทพ ช่วยปัญญา

TRB_2182-S

         การท่องเที่ยวโดยชุมชน Community Based Tourism (CBT) เทรนด์ใหม่ของการท่องเที่ยว เป็นฐานรากของการท่องเที่ยวไทยโดยแท้จริง ทำให้คนในชุมชนมีความสุข รักใคร่สามมัคคีกัน ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจหมุนเวียนเงินในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้น ท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้มแข็ง การท่องเที่ยวโดยรวมของชาติก็ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามไปด้วย 

TRB_1776-S

           นายสุรศักดิ์ อินทรประเสริฐ ประธานชมรมส่งเสริมท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไม้รูดและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไม้รูด เล่าให้ฟังว่า “เราตั้งต้นมาได้ 2 ปีแล้ว โดยมี องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. เป็นทั้งพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา ปีนี้เป็นปีที่ 3 เราเปิดตัวจริงจังเดินหน้าเต็มที่ มูลเหตุหลักพื้นที่เราได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC แล้ว Positioning ของเราจะไม่เน้นเรื่องอุตสาหกรรม จึงหันมาเน้นเรื่องการท่องเที่ยว พื้นที่ของเราก็มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวอยู่มาก

TRB_1785-S

           หน้าบ้านเราเป็นอ่าวตราดที่เชื่อมโยงกับอ่าวไทย คนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำการประมงขนาดเล็กตามชายฝั่ง ออกเรือตอนเช้ามืด สายๆหน่อยเรือก็พาเรือเข้าฝั่ง เอากุ้ง หอย ปู ปลา กั้ง ที่หามาได้ส่งตลาด บ้างทีลูกค้าก็มารับซื้อถึงที่ ที่เหลือก็นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์โอท็อปตำบล เรามีศาลาราชการุณย์ บ่อน้ำญวน แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ บ่อน้ำญวนเล่าถึงขบวนการกู้ชาติของญวนที่เคลื่อนพลผ่านที่บ้านไม้รูด หาดทรายสองสีเป็นความสวยงามที่แตกต่างของธรรมชาติ เรามีป่าชายเลนเต็มพื้นที่ 2 ฝั่งคลอง โลมาอิรวดีฝูงใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยือนเรา”  

TRB_1588-S

       เยี่ยมชมศาลาราชการุณย์

TRB_1576-S

TRB_1578-S

TRB_1563-S

        ศาลาราชการุณย์ ตั้งอยู่ที่ บ้านไม้รูด ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เดิมที่นี่คือ ศูนย์สภากาชาดไทย เขาล้าน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พำนัก และช่วยเหลือชาวเขมรอพยพ ซึ่งภายหลังชาวเขมรได้แยกย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม ศูนย์ฯ แห่งนี้จึงปิดทำการ และต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีแนวคิดจัดสร้างศาลาราชการุณย์ขึ้นมาอีกครั้ง ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย เจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา 

TRB_1572-S

TRB_1568-S

TRB_1565-S

         ภายในนั้นได้มีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งประกอบไปด้วยนิทรรศการพระราชกรณียกิจของพระองค์ หุ่นจำลองชาวเขมรอพยพขณะทำภารกิจประจำวันในช่วงที่เข้ามาอาศัยแผ่นดินไทย สวนไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด สวนสมุนไพร พระพุทธรูปแบบสุโขทัย ปางมารวิชัย ที่ปัจจุบันเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดตราด และด้านหลังศูนย์ฯ ยังมีชายหาดเงียบสงบเหมาะสำหรับการเดินเล่นพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ภายในศูนย์ฯ ยังมีที่พักบริการสำหรับคนที่ปรารถนาสัมผัสบรรยากาศอย่างใกล้ชิด

        เปิดทำการ : เวลา 08.30-16.00 น. สอบถามข้อมูล : โทร. 039521621, 039521624, 039521838  www.redcross.or.th/khaolan

TRB_1626-S

              สัมผัสวิถีประมงชายฝั่ง ชุมชนบ้านไม้รูด

TRB_1658-S

TRB_1724-S

TRB_1722-S

TRB_1714-S

TRB_1707-S

TRB_1685-S

        ท่องเที่ยวโดยชุมชนก็ต้องมาสัมผัสวิถีของชุมชนด้วย ชุมชนบ้านไม้รูด ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด คนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำประมงขนาดเล็กตามชายฝั่ง ออกเรือตอนเช้ามืด สายๆหน่อยเรือก็พาเรือเข้าฝั่ง เอากุ้ง หอย ปู ปลา กั้ง ที่หามาได้ส่งตลาด บ้างทีลูกค้าก็มารับซื้อถึงที่ ที่เหลือก็นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์โอท็อปตำบล

TRB_1647-S

TRB_1619-S

TRB_1630-S

TRB_1638-S

TRB_1604-S

TRB_1608-S

          เดินจากถนนใหญ่ลงมาที่ชุมชนบ้านไม้รูด ก็เห็นเพิงพักบ้านไม้ที่ปลูกขึ้นแบบเรียบง่าย ตลอดแนวสองฝั่งคลองไม้รูดก่อนออกทะเล ใช้ทางร่วมทำด้วยคอนกรีตที่ไม่กว้างมากนัก ระหว่างคนเดินกับรถมอเตอร์ไซด์ เป็นทางสัญจรไปมาหาสู่ของคนในชุมชน เรือใหญ่เริ่มเดินทางออกทะเลอีกครั้งในช่วงสายๆ ส่วนเล็กก็ทะยอยเข้าฝั่ง เรือที่เข้าฝั่งแล้วก็เทียบท่า เอาสัตว์น้ำที่หาได้ขึ้นฝั่ง ให้แม่บ้านไปทำอาหาร ส่วนที่เหลือก็นำไปขายหรือแปรู คนที่ไม่ได้ออกเรือก็นั่งซ่อมข่ายซ่อมลอบกันไป มีความสุขอยู่กับความเรียบง่ายตามวิถีชุมชนที่เป็นอยู่ 

TRB_1661-S

               ชิมก๋วยเตี๋ยวกั้งร้านริมคลองไม้รูด

TRB_1669-S

        เดินสัมผัสวิถีชุมชนบ้านไม้รูดอยู่นานจนเริ่มหิว เที่ยวชุมชนก็ต้องหาของอร่อยๆในชุมชนชิมสักหน่อย ที่ริมคลองไม้รูดมี “ร้านป้านา” ขายก๋วยเตี๋ยวกั้ง และอาหารตามสั่ง เปิดรอบริการให้กับคนในชุมชน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยี่ยมเยือนชุมชน ก๋วยเตี๋ยวกั้ง กระเพาะกั้ง เป็นเมนูแนะนำ

TRB_1665-S

TRB_1667-S

           ก๋วยเตี๋ยวกั้ง น้ำ แห้ง ต้มยำ มีครบให้เลือกชิมทุกเส้น รวมถึงวุ้นเส้นด้วย ผมสั่งข้าวกระเพาะกั้งมาชิมก่อนหนึ่งจาน ลิ้นได้สัมผัสก้ังสดเนื้อนุ่มผสมน้ำราดกระเพาะ รสเผ็ดร้อนของพริกสวน หอมกลิ่นกระเพาะจนขึ้นจมูก ส่วนก๋วยกั้งต้มยำวุ้นเส้น เนื้อกั้งไม่ต้องพูดถึงใหม่สดจากทะเลอยู่แล้ว น้ำซุปต้มยำเข้มข้น เปรียวนำหอมกลิ่นมานาว อร่อยจนต้องขอบอกเลยว่าห้ามพลาด

TRB_1899-S

             ล่องเรือชมหิ่งหอย งมหอยถ่าน ตามแนวชายป่าโกงกาง

TRB_1881-S

TRB_1878-S

TRB_1910-S

TRB_2019-S

TRB_2036-S

        พอแดดร่มลมตกถึงเวลานัดหมายประมาณสี่โมงเย็น ชุมชนก็มีกิจให้นักท่องเที่ยวได้ ล่องเรือชมหิ่งหอย งมหอยถ่าน ตามแนวชายป่าโกงกาง อีกด้วย สวมเสื้อชูชีพเรียบร้อยก็ลงเรือได้ ลำละ 4 – 6 ตามขนาดของเรือ หันหัวเรือเข้าคลองผ่านสะพานคอนกรีตข้ามคลองไม้รูดไป 2 สะพาน พอพ้นเขตชุมชนชาวประมงไป สองฝั่งคลองก็หนาแน่นไปด้วยป่าโกงกาง ระบบนิเวทน์ยังคงอุดมสมบรูณ์อยู่มาก

TRB_2063-S

TRB_2127-S

TRB_2147-S

TRB_2168-S

TRB_2173-S

TRB_2164-S

         แล้วก็มาถึงจุดไฮไลน์ของการล่องเรือชมธรรมชาติป่าชายเลน 2 ฝั่งคลอง หลังเรือแล่นมาได้ประมาณครึ่งชั่วโมง เรือมาจอดที่เวิงน้ำทาง 3 แพ่ง น้ำไม่ลึก นักท่องเที่ยวสามารถลงจากเรือลงมาเดินชมความสมบูรณ์ของป่าโกงกางได้ ใต้ท้องน้ำเป็นทรายเนื้อละเอียด เอามืองมลงไปในผืนทรายไม่กี่ฝามือ ก็จะได้หอยติดขึ้นมือขึ้นมา เนื่องจาก หอยพอกกับหอยถ่านเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณนี้ ใครอยากงมหอยเพื่อนำไปปรุงอาหารในมื้อเย็นก็ได้ เป็นกิจกรรมที่น่าลอง ส่วนหิ่งห้อยนั้นไม่ได้อยู่ดู ฟ้าต้องมืดสนิทจริงๆถึงจะเห็นแสงหิ่งห้อย 

TRB_2193-S

                แวะช้อปตลาดบ้านหาดเล็ก จุดผ่านแดนบ้านคลองใหญ่ 

TRB_2207-S

TRB_2218-S

          เช้าเดินทางมาแวะช้อปตลาดบ้านหาดเล็ก จุดผ่านแดนบ้านคลองใหญ่ ก่อนที่จะไปเที่ยวกันต่อ อยู่ห่างจากบ้านไม้รูดประมาณ 10 กิโลเมตร อนาคตก็จะเดินทางเข้าออกประเทศกัมพูชาได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการขยายถนนจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจรเพื่อรองรับการขยายตัว ของเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC

TRB_2221-S

TRB_2217-S 

           สภาพการค้าขายไม่ค่อยคึกคักเท่าไหร่ แต่ก็ยังมีพ่อค้าแม่ค้า ทั้งฝั่งไทยและกัมพูชา ขนถ่ายสินค้าเข้าออกข้ามแดนกันเป็นปรกติ ในตลาดสินค้ามีให้เลือกมากมาย เหล้า ไวน์ บุหรี่ ปลอดภาษี เลือกซื้อกันได้ตามใจชอบ แต่ต้องตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ส่วนสินค้าอื่นก็มีให้เลือกช้อปเหมือนกัน แว่นตา นาฬิกา ไฟฉาย เสื้อผ้า ล้วนแต่ของคุณภาพก๊อบเกรดAAAทั้งนั้น 

TRB_1804-S

                 หาดทราย 2 สี บ้านไม้รูด

TRB_1819-S

TRB_1815-S

TRB_1807-S

         ช้อปแล้วก็ย้อนกลับมาเที่ยวต่อที่ หาดทราย 2 สี บ้านไม้รูด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนบ้านไม้รูด ต้องมาเห็นกับตาตนเองให้ได้ ถือเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หาดูได้ไม่ง่ายนัก ที่เวิ้งหาดสองหาดที่อยู่ติดกัน จะมีหาดทรายที่สีไม่เหมือนกัน แบ่งกั้นด้วยเนินหญ้าเตี้ยๆเท่านั้น 

TRB_1795-S

RAA_9773-S

TRB_1784-S

            ด้านหนึ่งเป็นหาดทรายขาวละเอียดงามตา สามารถลงเล่นน้ำทะเลได้ ส่วนอีกหาดหนึ่งที่อยู่ติดกันเป็นหาดทรายแดง ผืนทรายหยาบเห็นเม็ดทรายชัดเจน ถัดจากหาดทรายออกเป็นมีโขดหินตั้งอยู่เรียงราย นักท่องเที่ยวไม่สามารถลงเล่นน้ำได้ที่หาดนี้  อพท. ได้เข้ามาปรับปรุงภูมิทัศน์ด้วยการนำป้ายหาดทราย 2 สี ให้นักท่องเที่ยวได้มาเช็คอินถ่ายรูปกัน 

TRB_1826-S

                 บ่อญวน บ่อน้ำจืดริมหาดไม้รูดTRB_1844-S

TRB_1854-S

           เดินต่อมาอีกหน่อยก็มาเจอ บ่อญวน ตั้งอยู่หลังวัดวิสิทธิการาม ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมต่อจากหาดทราย 2 สี ระหว่างทางที่เชื่อมต่อกัน มีต้นสเม็ดขาว เสม็ดแดง ขึ้นอยู่สองข้างทางเดินเท้า ชุมชนก็กำลังจะพัฒนาให้เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ว่าด้วยพืชสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคได้

RAA_9813-S

          บ่อน้ำถูกขุดขึ้นโดยเรฟูจีชาวเวียดนาม ที่หนีภัยสงครามและความอดอยาก มาตายเอาดาบหน้า หรือบ้างก็ว่าเส้นทางผ่านของกองกู้ชาติของลุงโฮ ที่มาขึ้นฝั่งหรือแวะที่บริเวณหลังวัดวิสิทธิการามแห่งนี้ จึงต้องขุดหาน้ำจืดเพื่อกินประทังชีวิตกันไป ขุดไปก็ไปเจอตาน้ำจืดที่มีอยู่แล้ว จึงขุดให้กว้างขึ้น พอชาวญวนไปแล้วชาวบ้านมาเจอ ปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของชุมชนบ้านไม้รูด

TRB_2018-S

           องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานพิ้นที่พิเศษ 3 ได้ขยายเขตความรับผิดให้ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ด้วยการเอาชุมชนบ้านไม้รูด เข้ามามีส่วนร่วม ให้ชุมชนเป็นตัวกำหนดเส้นทางท่องเที่ยว และกิจกรรมในการท่องเที่ยว เพื่อนำเสนอสินค้าด้านการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านไม้รูด ที่ยังไม่ได้รับการเผยแพร่มากนัก และเปิดเส้นท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส สร้างการรับรู้ ให้กับคนที่สนใจเดินทางท่องเที่ยว และสร้างรายได้ให้กับชุมชน เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว ให้เศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดตราดขับเคลื่อนต่อไปได้