THEWAYNEWS > Travel > In bound > ท่องเที่ยวโดยชุมชน @ มหาวิทยาลัยบ้านนอก บ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

              ท่องเที่ยวโดยชุมชน @ มหาวิทยาลัยบ้านนอก บ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

TRB_2426-S

      เรื่อง/ภาพ สุเทพ ช่วยปัญญา

RUT_3931-S

           การท่องเที่ยวโดยชุมชน Community Based Tourism (CBT) เทรนด์ใหม่ของการท่องเที่ยว เป็นฐานรากของการท่องเที่ยวไทยโดยแท้จริง ทำให้คนในชุมชนมีความสุข รักใคร่สามมัคคีกัน ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจหมุนเวียนเงินในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้น ท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้มแข็ง การท่องเที่ยวโดยรวมของชาติก็ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามไปด้วย 

RUT_3944-S

          นายมานพ กว้างขวาง “ลุงใจ” คณะกรรมการมหาวิทยาลัยบ้านนอก เล่าให้ฟังว่า “คนในชุมชนบ้านจำรุง ดั่งเดิมเป็น คนซอง ที่อพยพมาจากจังหวัดเกาะ ประเทศกัมพูชา ล่องเรือมาขึ้นฝั่งที่ปากน้ำประแสร์ คำว่า จำรุง เป็นภาษาซอง แปลว่าอุดมสมบรูณ์ไปด้วยน้ำ ในตำบลเนินฆ้อมีทั้งหมด 9 หมู่บ้าน 3 น้ำ น้ำเค็มอยู่ติดทะเล 3 หมู่บ้าน น้ำกร่อย 3 หมู่บ้าน และน้ำจืด 3 หมู่บ้าน จึงมี ผลผลิตทางการเกษตร อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์แปรรูป แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนที่หลากหลาย 

RUT_3965-S

           ศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยบ้านนอก เริ่มต้นด้วยการอยากให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในชุมชนเนินฆ้อ เหมือนกับแหล่งท่องเที่ยวดังๆ ของจังหวัดระยองบ้าง มีแต่รถทัวร์นำนักท่องเที่ยวผ่านมา แล้วก็ผ่านไป ไม่เคยรู้จักบ้านเนินฆ้อเลย ผลผลิตทางการเกษตรก็ต้องเอาไปขายตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ก็เลยเอาป้ายไปติดว่า เป็นแหล่งเรียนรู้ มีโฮมสเตย์ให้พัก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จากนั้นก็รวบรวมเงินคนในชมรมซื้อที่ดินแห่งนี้ เพื่อทำเป็นศูนย์เรียนรู้ ได้ชื่อเป็น มหาวิทยาบ้านนอกในปี พ.ศ. 2549

TRB_2417-S

                   ชมพระอาทิตย์ตกที่ สะพานรักษ์แสม 

TRB_2411-S

TRB_2412-S

            สะพานรักษ์แสม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อยู่ที่คลองท่าตาโบ้ย บ้านเนินทราย สะพานนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 เป็นสะพานแขวน แบบเสาคู่ตั้งอยู่ 2 ฝั่งคลอง มีสะพานไม้อยู่ตรงกลางระหว่างเสา ข้ามไปยังป่าชายเลน เขตอนุรักษ์ เพาะพันธุ์สัตว์ ธนาคารปูแสม ของคนในชุมชน ที่รวมกลุ่มกันเพื่ออนุรักษ์ เพิ่มจำนวนสัตว์น้ำในช่วงฤดูวางไข่ และดูแลรักษาผืนป่าชายเลน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืน

TRB_2430-S

TRB_2443-S

              จนกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของบ้านเนินทราย ในช่วงเย็นนอกจากจะมาเดินข้ามสะพานรักษ์แสม เพื่อไปดูความอุดมสมบรูณ์ของระบบนิเวศท์ของป่าชายเลน ศึกษาเรียนรู้การอนุรักษ์ปูแสมแล้ว ยังมีหอคอยให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมพระอาทิตย์ตกได้อีกด้วย น่าเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยแห่งหนึ่ง ของประเทศไทยอีกด้วย

RUT_3926-S

                    พักโฮมสเตย์ บ้านจำรุง

RUT_3940-S

             โฮมสเตย์ บ้านจำรุง ที่เข้าร่วมชมรมมีตั้งหมด 38 หลัง ได้รับมาตรฐาน โฮมสเตย์ จากกรมส่งเสริมการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นปีที่ 4 จำนวน 20 หลัง อัตราค่าบริการ 200 บาท ต่อคนต่อคืน พร้อมอาหารเช้า 1 หลังนอนได้ตั้ง 4 – 8 คน ความสะดวกสบายก็มีให้พร้อม

RUT_4026-S

RUT_4021-S

             รถรับส่งไปยังบ้านหลังต่างๆ วิทยุ ทีวี ตู้เย็น คาราโอเกะ เตรียมไว้ให้บริการ ห้องนอนติดแอร์ เตียงขนาดมาตราฐาน ที่นอน หมอน ผ้าหม่ ผ้าเช็ดตัวหอมสะอาด ห้องน้ำภายในบ้าน 2 ห้อง นอนหลับสบายทั้งคืน เช้ามีรถรางรับมาทานอาหารเช้าที่มหาวิทยาลัยบ้านนอก เมนูก็แบบชาวบ้าน ต้มเลือดหมูร้อนๆ พร้อมข้าวเปล่าหนึ่งถ้วย (เติมได้ไม่อั่น) ตบท้ายด้วยขนมครกแคะจากเตา จิบกาแฟตาม บอกเลยว่าฟินมาก

RUT_3979-S

                  ยามเช้าเดินเล่นหันหน้าเข้า วัดจำรุง  

RUT_3962-S

            หลังจากทานอาหารเช้าแล้วก็มาเดินเล่น ชมวัดจำรุง วัดประจำหมู่บ้าน เดิมชื่อว่าวัดป่าเรไร่  สันนิษฐานว่าเริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2420  โดยมีหลวงพ่อผึ้งซึ่งบวชอยู่วัดเนินฆ้อ เป็นผู้ริเริ่มสร้าง นายจัน นางพุ่ม เป็นผู้ถวายที่ดินจำนวน 16 ไร่ ให้สร้างวัด เนื่องจากคงเห็นว่าชุมชนมีอยู่มาก แต่อยู่ห่างจากวัดอื่น ๆ พอสมควร  

RUT_3974-S

RUT_3983-1S

RUT_3990-S

           พื้นที่วัดยังมีสภาพเป็นป่า มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่รกชัฏ ในสมัยหลวงพ่อเล็ก เป็นเจ้าอาวาสในราวปี พ.ศ. 2442 ได้มีการสร้างอุโบสถขึ้นด้วยเสาไม้ ผนังอุโบสถกรุด้วยฝาไม้ หลังคามุงกระเบื้อง ต่อมาจึงได้รื้อฝาไม้ออก เปลี่ยนฝาผนังเป็นก่ออิฐถือปูน ทำพิธีผูกพัทสีมา ได้รับเป็นการขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย ในราว พ.ศ. 2474 

TRB_2386-S

                  เช้าชวนกันไปกรีดยาง 

TRB_2382-S

          กิจกรรมช่วงเช้าเริ่มต้นด้วยการพาไปชมสาธิตการกรีดยาง ซึ่งคนในชุมชนเขาทำกันเป็นประจำทุกเช้ามืดอยู่แล้ว เพราะพืชที่ปลูกอยู่ในชุมชนก็มีหลากหลาย พืชผัก สมุนไพรพื้นบ้าน สวนยาง สวนผลไม้ สามารถเก็บผลผลิตทำรายได้ให้กับครอบครัวได้ตลอดทั้งปีอยู่แล้ว การมาทำด้านท่องเที่ยวเป็นเพียงอาชีพเสริมเท่านั้น

TRB_2387-S

          นักท่องเที่ยวต้องขึ้นรถราง เพื่อไปชมกิจกรรมต่างๆภายในชุมชน รถแล่นออกจากที่ทำการมหาวิทยาลัยชุมชนมาไม่นานก็มาจดอที่สวนยาง การสาธิตการกรีดยางถึงจะดูว่าก็เป็นแค่กิจกรรามธรรมดา ที่คนในชุมชนทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว ในทางกลับกันก็เป็นกิจกรรม ที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักท่องเที่ยว ที่จะได้มีโอกาสลงมือกรีดยางด้วยมือของตัวเอง เห็นน้ำยางไหลออกมาต่อหน้าต่อตา เป็นความประทับตาตรึงใจไปอีกนาน

TRB_2398-S

                    สายไปดูการตีมีดกรีดยาง

TRB_2394-S

          เสร็จจากการกรีดยางมาดูการตีมีดกรีดยางกันบ้าง อีกอาชีพหนึ่งที่สำคัญของคนในชุมชน เมื่อยังมีการปลูกยาง ก็ยังต้องมีช่างตีมีดกรีอยาง เพราะการกรีดยางจะต้องใช้มีดในการกรีดยางเป็นอาวุธสำคัญ ถ้ามีดกรีดยางไม่ดีไม่มีความคม จับไม่ถนัดมือ การกรีดยางก็จะทำได้อย่างยากลำบก เสียทั้งเวลาและเปลืองแรงไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย น้ำยางที่ได้ก็อาจคุณภาพไม่ดีตามไปด้วย

TRB_2407-S

          ช่างตีมีดกรีดยางเป็นอาชีพที่ยากมาก ต้องใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์ควบคู่กันไปด้วย มีความชำนาญในการเลือกใช้เหล็ก อดทนต่อความร้อน ที่ต้องอยู่หน้าเตาอยู่ตลอดเวลา เพราะการตีเหล็กให้ดีต้องตีตอนมันร้อนๆ ใจต้องเย็นและนิ่งด้วย ถึงจะตีมีดกรีดยางออกมา คม แข็งแรง จับถนัดมือ โค้งมนสวยงาม  

 TRB_2400-S

           ดังนั้นช่างตีมีดกรีดจึงมีความสำคัญอย่าง ซึ่งคนในชุมชนบ้านจำจุงก็ยังคงอนุรักษ์อาชีพนี้ไว้อย่างเหนียวแน่น และยังคงได้ประโยชน์ทั้ง 3 ด้าน อย่างแรกเลยสามารถทำเป็นอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวได้ อย่างที่สองให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสวิถีของคนท้องถิ่น อย่างสุดท้ายคือเป็นแบบอย่างที่ยังคงอนุรักษ์อาชีพช่างตีมีดกรีดย่าง ไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป

RUT_4017-S

                 ซื้อของฝากโอท็อปกลับบ้าน 

RUT_4004-S

       ภายในมหาวิทยาลัยบ้านนอก ประกอบด้วยศูนย์การเรียนรู้ ลานวัฒนะรรม ศูนย์รวมผลผลิตทางการเกษตร สินค้าโอท็อป ได้แก่ พืชผัก สมุนไพรพื้นบ้านปลอดสาร น้ำพริก กะปิ น้ำปลา ทุเรียนทอด รวมเยี่ยมชม สวนผลไม้ปลอดสาร มังคุด เงาะ สละ แก้วมังกร มะยงชิด ลองกอง ขนุน ชิมฟรีได้ถึงในสวนตามช่วงฤดูกาล ถ้าติดใจในรสชาติของผลไม้ ก็สามารถซื้อเป็นของฝากกลับบ้านตามใจชอบ

RUT_3955-S

        สำหรับผู้ที่สนใจศึกษา เรียนรู้วิถีชุมชนบ้านจำรุง (มหาวิทยาลัยบ้านนอก) สามารถติดต่อไปที่ศูนย์ประสานงาน เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำรุง หมู่ 7 ต.เนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง หรือเข้าดูข้อมูลที่ www.banjumrung.org หรืออีเมล์ chartchai04@gmail.com

RUT_3950-S

         องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานพิ้นที่พิเศษ 3 ได้ขยายเขตความรับผิดให้ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ด้วยการเอาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม กำหนดเส้นทางท่องเที่ยว กิจกรรม นำเสนอสินค้าด้านการท่องเที่ยว ด้วยตัวชุมชนเอง แต่ยังไม่ได้รับการเผยแพร่มากนัก เป็นการเปิดเส้นท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส สร้างการรับรู้ ให้กับคนที่สนใจเดินทางท่องเที่ยว และสร้างรายได้ให้กับชุมชน เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว ให้เศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดระยองขับเคลื่อนต่อไปได้